ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี เตือนภัย‼️ “เรื่องจริง@สุพรรณบุรี”

👮🏼‍♂️ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุรี👮🏼
เตือนภัย‼️ “เรื่องจริง @สุพรรณบุรี”

ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา…เกิดคดีออนไลน์ที่น่าสนใจ 4 ประเภทในเขตพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ดังนี้

🔴แสร้งเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลางให้โหลดแอปดูดเงิน
1. 📲เบอร์โทรศัพท์แปลกๆ โทรมาอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง บอก ชื่อ,ข้อมูลเราได้ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และขอข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ ให้เพิ่มเพื่อนใน Line แชทคุยส่วนตัว
2. ให้กดลิงก์เพื่อยืนยันรับเงินค่าเงินบำนาญเลี้ยงชีพ เป็นการโหลดแอปพลิเคชัน โลโก้ของกรมบัญชีกลาง
3. ให้กรอกข้อมูลผ่านแอป เช่น รหัสปลดล็อคโทรศัพท์ สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน สแกนเท่ากับให้เงินมิจฉาชีพเสียแล้ว
4. โทรศัพท์ถูกควบคุม เงินถูกโอนไปแล้ว ข้อมูลส่วนตัว ถูกเก็บไว้เพื่อหลอกลวงในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป

🔴แสร้งเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าให้โหลดแอปดูดเงิน
1. 📲เบอร์โทรศัพท์แปลกๆ โทรมาอ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า บอก ชื่อ,ข้อมูลเราได้ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และขอข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ ให้เพิ่มเพื่อนใน Line แชทคุยส่วนตัว
2. ให้กดลิงก์เพื่อยืนยันรับเงินคืนค่ามิเตอร์ไฟฟ้า เป็นการโหลดแอปพลิเคชัน โลโก้ของการไฟฟ้า
3. ให้กรอกข้อมูลผ่านแอป เช่น รหัสปลดล็อคโทรศัพท์ สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน สแกนเท่ากับให้เงินมิจฉาชีพเสียแล้ว
4. โทรศัพท์ถูกควบคุม เงินถูกโอนไปแล้ว ข้อมูลส่วนตัว ถูกเก็บไว้เพื่อหลอกลวงในรูปแบบอื่น ๆ ต่อไป

🔴หลอกให้ลงทุน
1. 💻มิจฉาชีพจะซื้อโฆษณาผ่าน Facebook และ Google ทำให้ประชาชนทั่วไปมองเห็นโพสต์เพื่อเสนอ
ช่องทางหารายได้ โดยใช้รูปโปรไฟล์ที่ดูน่าเชื่อถือ หลอกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน และเชิญชวนให้ผู้เสียหายมาร่วมลงทุน โดยมีอัตราค่าตอบแทนที่สูง
2. เมื่อกดเข้าไปจะเป็นการเพิ่มเพื่อน LINE โดยอัตโนมัติ
3. มิจฉาชีพจะเพิ่มความน่าเชื่อถือด้วยการส่งต่อให้คุยกับกลุ่มผู้ลงทุนคนอื่น ๆ เพื่อรับรับรองว่าได้ผลตอบแทนจริง ๆ
4. ช่วงแรกลงทุนด้วยเงินจำนวนเล็กน้อย และจะได้เงินตอบแทนคืนจริง หลังจากนั้นจะเรียกร้องให้เพิ่มเงินทุนขึ้น เมื่อได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นผู้เสียหายจะไม่สามารถถอนเงินได้ โดยอ้างว่าต้องลงทุนเพิ่มอีกจึงจะ
สามารถถอนเงินออกมาได้ กว่าจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็สูญเสียเงินไปแล้ว

🔴หลอกให้กู้เงิน
1. 💻มิจฉาชีพจะซื้อโฆษณาผ่าน Facebook และ Google ทำให้ประชาชนทั่วไปมองเห็นโพสต์เพื่อเสนอ
สินเชื่อเงินกู้ให้ โดยใช้ภาพเป็นธนาคารต่างๆ ใช้รูปโปรไฟล์ที่ดูน่าเชื่อถือ หลอกว่าเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคาร
2. เมื่อกดเข้าไปจะเป็นการเพิ่มเพื่อน LINE โดยอัตโนมัติ
3. แสร้งส่งต่อให้คุยกับฝ่ายการเงิน ฝ่ายอนุมัติสินเชื่อ
4. ให้สมัครสมาชิกก่อนจะอนุมัติสินเชื่อ หลอกให้โอนเงินเพื่ออนุมัติยอดเงินที่ผู้เสียหายจะกู้
5. เรียกร้องให้โอนเงินเข้าไปเพิ่มเรื่อย ๆ ด้วยยอดเงินที่สูง โดยอ้างเป็นค่าประกันเงินกู้ ค่าดอกเบี้ยล่วงหน้า
6. เมื่อโอนเงินช้า มิจฉาชีพจะอ้างว่าเงินที่กู้ได้ถูกอายัดไว้ ต้องโอนเงินเข้าไปเพิ่มเพื่อถอนอายัดยอดเงินดังกล่าว จึงจะเป็นการกู้เงินสำเร็จ
7. ท้ายที่สุดกว่าผู้เสียหายจะรู้ตัวก็เสียเงินไปมากกว่าที่ต้องการกู้เสียแล้ว

*** 🚨หน่วยงานของทางราชการไม่มีบริการติดต่อเสนอให้บริการสนทนาเป็นการส่วนตัวเด็ดขาด หากไม่แน่ใจให้สอบถามไปที่เบอร์สายด่วนของหน่วยงานนั้น ๆ โดยทันทีหรือโทรศัพท์ปรึกษาสายด่วน 1441 🚨***

🚫กด 🚫กรอก 🚫ติดตั้ง
👮🏼‍♂️ด้วยความปรารถนาดีจาก ตำรวจภูธรจังหวัดสุพรรณบุ